วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558

[NMR.BD WORK] WEEK 3 : Social Network กับนักเรียนและสังคมไทย

[NMR.BD WORK]
WEEK 3 : Social Network กับนักเรียนและสังคมไทย


* บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ง33103

สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับสู่ Week 3 กับบล็อกเกอร์เช่นเดิม ในวันนี้บล็อกเกอร์มีเรื่องที่น่าสนใจ
และเป็นเรื่องที่เราคุ้นเคยมานำเสนอค่ะ

สำหรับหัวข้อในวันนี้คือ
"Social Network กับนักเรียนและสังคมไทย"
นั่นเองค่ะ

แต่ก่อนอื่น ท่านผู้อ่านทราบหรือยังคะ ว่า Social Network คืออะไร ? มีวัตถุประสงค์การใช้อย่างไร ?
ถ้ายังไม่ทราบ เราจะมาหาความรู้ไปพร้อมๆ กันค่ะ
----------------------------------------------------------------------
โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) : เครือข่ายสังคมออนไลน์
เครือข่ายสังคมออนไลน์ ก็คือกลุ่มสังคมที่เกิดจากการรวมตัวของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต
ผ่านทางผู้ให้บริการ  ซึ่งผู้บริการก็ยกตัวอย่างเช่น Facebook, Twitter หรือ Blogger 
และอื่นๆอีกมากมายค่ะ


(Facebook & Twitter)

(Blogger)
----------------------------------------------------------------------
แล้ว Social Network แบ่งได้เป็นกี่ประเภทกันล่ะ ?
Social Network สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ค่ะ คือ
1. แบ่งตามรูปแบบ
2. แบ่งตามจุดประสงค์การใช้งาน


1.แบ่งตามรูปแบบ

1) Blog หรือ บล็อก

คือเว็บไซต์รูปแบบหนึ่ง มาจากคำว่า Weblog (Website + Log) ซึ่งคำว่า Log ในที่นี้หมายถึงปูม”   ดังนั้น Blog จึงมีลักษณะเป็นเว็บไซต์ที่จัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีเดียวกับปูม  
มีการเรียงลำดับตามวันที่บันทึกข้อมูลใหม่ที่ Post จะอยู่บนสุด ส่วนข้อมูลเก่าจะอยู่ล่างสุด  
โดยบล็อกสมัยนี้ไม่ได้อยู่ลำพังเดี่ยวๆ แต่มีลักษณะเป็น Community ที่รวบรวม Blog หลายๆ Blog 
เข้าไว้ด้วยกัน สามารถเชื่อมโยงผู้เขียน (Blogger)  ได้เป็นสังคมขนาดใหญ่ 
ในขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงผู้อ่านไว้กับผู้เขียนได้  โดยสามารถคอมเม้นต์บทความติดตาม  
หรือกดโหวตได้ เช่น Blogger เป็นต้น


2) ไมโครบล็อก (Microblog)

เป็นเว็บไซต์ขนาดเล็ก ใช้สำหรับส่งข้อความสั้นๆ ไม่กี่ประโยค เพื่อบอกถึงสถานการณ์
 และความเป็นไป ไมโครบล็อกที่มีผู้นิยมใช้บริการ เช่น Twitter


3) โซเชียลเน็ตเวิร์คเว็บไซต์ (Social Network Website)

คือเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสังคมออนไลน์โดยเฉพาะ เช่น Facebook, Linkedin, Myspace, Hi5  เป็นต้น เว็บพวกนี้มีจุดเด่นที่การแชร์คอนเท้นต์ ทั้งข้อความ รูปภาพ และวีดีโอ บางเว็บรวมไปถึงบทความ เพลง และลิ้งก์  นอกจากนั้นยังมีฟังก์ชั่นในการแสดงความรู้สึก หรือมีส่วนร่วม เช่น                    การกดไลค์ (Like) การโหวต การอภิปราย (Discuss) และการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น

4) เว็บโซเชียลบุ๊คมาร์ค (Bookmark Social Site) 
เป็นเว็บที่ให้เราเก็บหน้าเว็บ หรือเว็บไซต์ที่เราชื่นชอบ เพื่อเอาไว้เข้าชมทีหลัง แต่พอมาเป็นโซเชียลไซต์ เราจะสามารถแชร์ URL ของหน้าเว็บเหล่านั้น รวมถึงดูว่าคนอื่นเก็บหน้าเว็บอะไรไว้บ้าง 
เข้าชม และแสดงความคิดเห็นต่อหน้าเว็บต่างๆ ได้


2. แบ่งตามจุดประสงค์การใช้งาน

1) เผยแพร่ตัวตน (Identity Network)

เป็นเว็บไซต์โซเชียลที่มุ่งเน้นการนำเสนอตัวตนของผู้ใช้งาน เรื่องราวของตัวเอง ภาพถ่ายของตัวเอง สิ่งที่ตัวเองชอบ หรือว่าสนใจ ความคิดเห็น ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งต่างๆ เว็บที่มีลักษณะดังกล่าว ได้แก่ Facebook, Myspace เป็นต้น


2) เผยแพร่ผลงาน (Creative Network)

เป็นเว็บไซต์ที่เน้นไปที่ผลงานของเจ้าของเว็บ มากกว่าตัวตนของเจ้าของผลงาน  ส่วนมากเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์คประเภทนี้  มักรวมผู้ที่ทำงานประเภทเดียวกันไว้ด้วยกัน  เช่น  เว็บรวมนักเขียนนิยาย  เว็บรวมคนรักการถ่ายภาพ  เว็บรวมนักออกแบบกราฟิก ฯลฯ  ซึ่งการสร้างเครือข่ายลักษณะนี้มักใช้ในการหาลูกค้า หรือเพื่อนร่วมอาชีพเป็นสำคัญ เช่น Coroflot, flickr, Multiply, DevianART เป็นต้น


3) ความสนใจตรงกัน (Interested Network) 

เว็บไซต์ประเภทนี้คล้ายๆ กับเว็บเผยแพร่ผลงาน  คือ รวบรวมผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกันมาไว้ด้วยกัน แต่ต่างกันที่ Interested Network เจ้าของเว็บไม่ต้องเป็นเจ้าของผลงาน แค่แชร์ลิ้งค์ หรือเว็บที่ตัวเองสนใจ เช่น Pinterest, del.licio.us, Digg, Zickr เป็นต้น


4) โลกเสมือน (Virtual life / Game online)


 เป็นลักษณะการจำลองตัวของผู้ใช้งานเป็นตัวละครตัวหนึ่งในเกม หรือสถานการณ์สมมุติ โดยมีเรื่องราว หรือภาระกิจให้ปฏิบัติ โดยอาจจะปฏิบัติโดยลำพังแข่งกับผู้เล่นคนอื่น หรือร่วมกันเป็นทีมก็ได้  โดยในระหว่างเล่นสามารถพูดคุย หรือสื่อสารกับผู้เล่นอื่นๆ ได้ ทำให้มีลักษณะเป็น Social Network แบบหนึ่ง  เช่น Second Life, The SIM เป็นต้น
----------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นของบล็อกเกอร์

เกี่ยวกับเรื่องโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค บล็อกเกอร์คิดว่า โลกทุกวันนี้พัฒนาได้ก้าวล้ำมาก
เพราะแค่ไม่กี่คลิ๊ก คุณก็ได้พบกับคนที่อยู่คนละซีกโลกได้
แค่ไม่กี่คลิ๊ก คุณก็จะได้เห็นสิ่งที่คุณอาจไม่มีวันได้เห็น 
เช่น สถานที่ที่คุณอยากไป แต่ไม่อาจไม่มีโอกาสได้ไป
แค่ไม่กี่คลิ๊ก สิ่งของที่คุณอยากได้ คุณก็สามารถซื้อได้แล้ว โดยไม่ต้องไปตามหาข้างนอก
แค่ไม่กี่คลิ๊ก เรื่องราวที่คุณสนใจ ก็มีข้อมูลไหลออกมามากมาย ไม่ว่าแขนงไหนก็ตาม
แค่ไม่กี่คลิ๊ก แค่ไม่กี่คลิ๊กจริงๆ
สังคมของคนไทยเอง ก็เป็นสังคมที่ใช้ Social Network มากเป็นอันดับต้นๆ
ที่เห็นบ่อยๆ ก็จะเป็นกลุ่มคอมมูนิตี้ต่างๆ ร้านค้า แหล่งความรู้ หรือแหล่งดราม่า (ฮา)
ถือว่าสะดวกในหลายๆ ด้านเลยค่ะ
แต่..

เพราะแค่ไม่กี่คลิ๊ก ปัญหาที่ยุ่งยากก็ตามมาเพราะความที่คิดไตร่ตรองน้อยไปก่อนจะคลิ๊ก
เพราะแค่ไม่กี่คลิ๊ก ทำให้สังคมในโลกแห่งความจริงวุ่นวายได้
เพราะแค่ไม่กี่คลิ๊ก หรือสไลด์แล้วจิ้มๆ ก็ทำให้เวลาของเราในโลกแห่งความจริงหายไป
บางทีเราก็ต้องแยกระหว่างโลกแห่งความจริงกับโลกสมมตินะ ?
สิ่งที่เราขาดไป คือ "การแบ่งเวลา"
ถ้าเราแบ่งเวลาเป็น การใช้งานสิ่งต่างๆ หรือชีวิตประจำวันก็จะไม่เป็นปัญหา
แบ่งเวลามาอยู่กับตัวเองคนเดียว หรือคนรอบข้างจริงๆ บ้าง
ก้มหน้าจิ้มตลอดมันก็เมื่อยเนอะ เสี่ยงต่อโรคอีก
สิ่งที่เราขาดไป คือ "การแยกแยะ"
ถ้าเราแยกแยะออก ว่าอันไหนเหมาะสม อันไหนไม่เหมาะสม ปัญหาก็จะไม่เกิด 
ก็จะไม่หลงกลต่อสิ่งล่อลวงต่างๆ
จึงอยากฝากข้อคิดเล็กๆ แก่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตไว้เพียงเท่านี้แหละค่ะ :)
----------------------------------------------------------------------
สำหรับวันนี้ บล็อกเกอร์ขอลาไปก่อน เอนทรี่หน้าจะเป็นเรื่องอะไรนั้น ฝากติดตามกันต่อด้วยนะคะ
สวัสดีค่ะ


เครดิต
เนื้อหา : http://www.microbrand.co/social-network-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3/
รูปภาพ : https://www.google.co.th/search?q=facebook&biw=1366&bih=667&tbm=isch&source=lnms&sa=X&ved=0CAgQ_AUoA2oVChMI69aDsu6WxgIVAhG8Ch1mbwD1#tbm=isch&q=social+addict+check&imgrc=pqiMIg92AoImfM%253A%3BUYltOPvRhUJDIM%3Bhttp%253A%252F%252Fwww.exacttarget.com%252Fblog%252Fwp-content%252Fuploads%252F2014%252F08%252Fsocial-icons-8-on-tablet1.jpg%3Bhttp%253A%252F%252Fwww.exacttarget.com%252Fblog%252Fare-you-a-mobile-app-addict%252F%3B1508%3B850



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น